Search

โควิด-19ดันเอ็นพีแอลพุ่ง9% - ฐานเศรษฐกิจ

ธปท.แจงศบศ. มั่นใจสถาบันการเงินรับมือเอ็นพีแอลไหว คาดสิ้นปีเพิ่มแตะ 9% เท่านั้น ด้านนักวิเคราะห์มอง เอ็นพีแอลสิ้นปีแตะ 3.5-3.6% ค้านพักชำระหนี้ 2ปี เหตุมีต้นทุนของระบบ

ธปท.แจงศบศ. มั่นใจสถาบันการเงินรับมือ เอ็นพีแอล ไหว คาดสิ้นปีเพิ่มแตะ 9% เท่านั้น ด้านนักวิเคราะห์มองเอ็นพีแอลสิ้นปีแตะ 3.5-3.6% จากปัจจุบัน 3.08% ค้านพักชำระหนี้ 2ปี เหตุมีต้นทุนของระบบที่ต้องคำนึง ยากต่อการแยกกลุ่มลูกค้า ขณะที่แบงก์ต้องเพิ่มทุนและกันสำรองเพิ่ม เหตุบันทึกกำไรบนบัญชี แต่ไม่มีเงินสดรับ

ประเด็นที่พูดถึงมากในช่วงนี้คือ ระดับ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)จะเพิ่มขึ้นมาก หลังครบกำหนดมาตร การพักชำระหนี้ ของสถาบันการเงิน ในเดือนตุลาคม 2563 ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ยืนยันชัดเจนจะไม่ขยายเวลามาตรการดังกล่าวเป็นการทั่วไป สำหรับผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี เพราะยังมีลูกค้าบางกลุ่มที่มีความสามารถในการชำระหนี้

ขณะที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งเองให้การช่วยเหลือลูกค้ามากกว่ามาตรการขั้นตํ่าของธปท.อยู่แล้ว โดยมองว่า หากเป็นมาตรการทั่วไปจะกระทบต่อวินัยทางเครดิตของลูกค้าด้วย

ล่าสุดธปท.ได้รายงานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือ ศบศ. ว่า ภาคการเงินยังสามารถดูแลปัญหาหนี้เอ็นพีแอลได้ เพราะหากประเมินระดับเอ็นพีแอลก่อนเกิดโควิดจะอยู่ที่ระดับประมาณ 3% และคาดว่า สถานการณ์โควิดจะทำให้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นอีก 6% ดังนั้นช่วงปลายปีเอ็นพีแอลจะเพิ่มสขึ้นสูงสุดที่ 9% เท่านั้น

ขณะที่ฐานะการเงินของธนาคารพาณิชย์ ทั้งระดับเงินกองทุน การกันสำรองและสภาพคล่องมีเพียงพอที่รองรับได้ 

นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคาร ทหารไทย หรือ TMB Analytics เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า หากทางการไม่ต่ออายุมาตรการพักชำระหนี้ คาดว่า จะเห็นเอ็นพีแอลในสิ้นปีนี้แตะ 3.6% จากปัจจุบันที่ 3.08% คิดเป็นมูลหนี้รวม 5.09 แสนล้านบาท(Stage3) แต่มีความเบาใจขึ้น เมื่อเห็นสัญญาณจากลูกค้าส่วนใหญ่ในกลุ่มรายย่อย ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อรถยนต์ หรือสินเชื่อที่อยู่อาศัย กลับมาชำระหนี้ได้ดีขึ้น 

ทั้งนี้ปัจจุบันกลุ่มรายย่อยเป็นเอ็นพีแอล อยู่ที่ 3.12% มูลหนี้ 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งขึ้นกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า จะกินเวลายาวนานแค่ไหน เช่นเดียวกับกลุ่มรายใหญ่ที่มีเอ็นพีแอลอยู่ในระดับ 1.7% มูลหนี้ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ขณะที่ความต้องการสินเชื่อไตรมาส 2 ยังขยายตัว 13% ส่วนหนึ่งมาจากการปล่อยสินเชื่อ เพื่อลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน

ส่วนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น เป็นกลุ่มที่อยู่ในห้วงระมัดระวัง ส่วนหนึ่งเพราะมีเอ็นพีแอลอยู่ที่ 5% มูลหนี้ประมาณ 4.9 แสนล้านบาท


อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเอ็นพีแอลคงจะไหลเข้ามาเพิ่มบ้าง แต่ไม่น่าจะพุ่งถึง 10% โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีที่ยังมีความเปราะบาง บางรายมีอาการที่ต้องระมัดระวัง แต่ความท้าทายระบบแบงก์คือ ต้องแยกให้ได้ว่า ลูกค้ากลุ่มไหนจะไปรอดได้ และกลุ่มไหนที่ไม่ไหว เพราะทรัพยากรมีจำกัด จึงต้องให้การช่วยเหลือกลุ่มที่จะรอด ส่วนรายที่ไม่ไหว ก็ต้องช่วยปรับปรุงโครงสร้างหนี้กันไป 

“ที่สำคัญ เราจะอยู่กับภาวะนี้นานแค่ไหน เราไม่สามารถพักหนี้ไว้ยาวหรือเลื่อนปัญหาออกไปเรื่อยๆ ก็เหมือนซ่อนขยะไว้ใต้พรม แต่หากไม่ช่วยผู้ประกอบการก็แย่ จึงต้องหาสมดุลโดยการแยกกลุ่มที่จะรอดหรือไปไม่ไหว”

ส่วนข้อเสนอเอกชนที่จะให้มีการพักชำระหนี้ 2 ปีนั้น ส่วนตัวมองว่า จะทำให้การแยกลูกค้าได้ยาก ระหว่างกลุ่มที่เป็นเอ็นพีแอลก่อนโควิด,กลุ่มที่ถูกกระทบจากโควิด แต่ไม่สามารถกลับมาได้ และ กลุ่มถูกกระทบจากโควิดแล้วปรับตัวได้ ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้น และนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศประเมินความเสี่ยงธนาคารไม่ได้ และจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของทั้งระบบ ซึ่งเป็นต้นทุนของระบบที่ต้องคำนึงถึงด้วย 

ทั้งนี้เพราะช่วงพักชำระหนี้ในปัจจุบัน  สถาบันการเงินสามารถบันทึกรายได้ดอกเบี้ยบนบัญชี  แต่หากพ้นมาตรการไปแล้ว หากลูกค้าไม่สามารถจ่ายคืนหนี้ได้ ธนาคารต้องกันสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเต็มจำนวน เท่ากับ สถาบันการเงินไม่มีเงินสดรับเข้ามา  ดังนั้นกำไรบนบัญชีจะไม่สะท้อนผลกำไรจริง ซึ่งจะมีผลต่อความโปร่งใสของงบการเงิน

สอดคล้องนางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยกล่าวว่า แม้จะอยู่ในช่วงพักชำระหนี้ แต่ไม่ใช่ทุกรายที่พักชำระหนี้ตามมาตรการรัฐ ยังมีลูกค้าที่จ่ายชำระค่างวดได้ด้วย และกลุ่มธุรกิจไม่น้อยที่มีเงินฝากเข้ามาในระบบ สะท้อนว่า ยังมีลูกค้าบางรายที่ไปรอด จึงสนับสนุนให้ทางการดูแลลูกค้าต่อ แต่ต้องพิจารณารูปแบบตามความเหมาะสม หรืออาจจะมีสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า(ซอฟต์โลน)

ซึ่งในกลุ่มธนาคารเจ้าหนี้รับรู้สถานการณ์ตรงกันอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว เห็นจากทุกธนาคารทยอยกันสำรองและช่วยเหลือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทำให้สัญญาณการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลได้รับการดูแล

“ภาพรวมทั้งปีนี้ มองว่า เอ็นพีแอลยังไม่หนีจากต้นปีที่ผ่านมาราว 3.5% จากปลายปีก่อนอยู่ที่ 3.14% ซึ่งเป็นตัวเลขเอ็นพีแอลที่ได้รับการดูแล ดังนั้นโอกาสที่เอ็นพีแอลจะพุ่งสู่ระดับสูงไม่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนหนึ่งได้รับการดูแล หรืออีกส่วนอาจจะปรับตามเกณฑ์ หากมีหลายจิ๊กซอร์เชื่อว่า จะสามารถควบคุมปริมาณการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลได้” 

แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์กล่าวว่า สิ่งที่ห่วงขณะนี้คือ มีบางอุตสาหกรรมที่ยังไม่ฟื้น หรือ ฟื้นยาก เช่น กลุ่มเกี่ยวข้องการท่องเที่ยว ที่ควรจะได้รับการพักชำระหนี้ต่อ แต่เลือกเป็นรายกรณีลูกค้าที่เดือดร้อน ที่รัฐจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โบรกหวั่นครึ่งปีหลังเอ็นพีแอลแบงก์พุ่ง

ธปท.รุกลดเสี่ยงโควิด-19 ป้องกันก่อน‘เอ็นพีแอล’ลาม

"เอสเอ็มอี"เอ็นพีแอล ลุ้นสสว.ชงแสนล้านอุ้ม

เครดิตบูโรคาดเอ็นพีแอล-ลูกหนี้ปรับโครงสร้างแตะ 1ล้านล้านบาท

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,611 วันที่ 20 - 23 กันยายน พ.ศ. 2563


Let's block ads! (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( โควิด-19ดันเอ็นพีแอลพุ่ง9% - ฐานเศรษฐกิจ )
https://ift.tt/2G0edMs
ธุรกิจ

Bagikan Berita Ini

0 Response to "โควิด-19ดันเอ็นพีแอลพุ่ง9% - ฐานเศรษฐกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.